-------------------
ด้วยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการศึกษา ขั้นปริญญาตรี เสียใหม่ ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ . ศ . 2522 และโดยมติสภา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในคราวประชุม ครั้งที่ 313 (2/2552) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2552 จึงให้กำหนดระเบียบ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีไว้ ดังนี้
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรี พ.ศ. 2552
กลับด้านบน
ให้ใช้ระเบียบนี้สำหรับนักศึกษาตามหลักสูตรขั้นปริญญาตรี ซึ่งเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป
กลับด้านบน
บรรดาความในระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือประกาศอื่นใด ที่มีอยู่ก่อนระเบียบฉบับนี้ และมีความกล่าว ไว้ในระเบียบนี้ หรือที่ระเบียบนี้กล่าวเป็นอย่างอื่น หรือที่ขัดหรือแย้งกับความในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
กลับด้านบน
ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีข้อความให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มหาวิทยาลัย หมายความว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะ หมายความว่า คณะหรือวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่นักศึกษาสังกัดอยู่
คณบดี หมายความว่า คณบดีของคณะหรือผู้อำนวยการวิทยาลัยหรือ ผู้บริหารหน่วยงานที่นักศึกษา สังกัดอยู่
คณะกรรมการประจำคณะ หมายความว่า คณะกรรมการประจำคณะของคณะหรือ
คณะกรรมการ ประจำวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่นักศึกษาสังกัดอยู่
ภาควิชา หมายความว่า ภาควิชาหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักสูตรสาขาวิชาเอกที่นักศึกษา ศึกษาอยู่
หน่วยกิตสะสม หมายความว่า หน่วยกิตที่นักศึกษาเรียนสะสมเพื่อให้ครบตามหลักสูตรสาขาวิชา
นั้น
กลับด้านบน
มหาวิทยาลัยรับนักศึกษาเข้าศึกษาหลักสูตรขั้นปริญญาตรี โดยวิธี ดังนี้
5.1 การรับผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นไปตามระเบียบ การคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา
5.2 การรับตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ได้แก่
5.2.1 การคัดเลือกโดยวิธีรับตรง
5.2.2 การสอบคัดเลือกเข้าศึกษาหลักสูตรต่อเนื่อง
5.3 วิธีอื่น ๆ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
กลับด้านบน
ข้อ 6 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา |
6.1 สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า
6.2 ผ่านการรับเข้าเป็นนักศึกษาตามความในข้อ 5
6.3 ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เรื้อรังที่แพร่กระจายได้ หรือโรคที่เป็น อุปสรรคต่อการศึกษา
กลับด้านบน
ข้อ 7 การรายงานตัวเป็นนักศึกษา |
ผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา ต้องรายงานตัวและขึ้นทะเบียนเป็น นักศึกษาตามกำหนด และ รายละเอียดที่มหาวิทยาลัย จะประกาศเป็นคราว ๆ ไป มิฉะนั้นจะถือว่า สละสิทธิ์
กลับด้านบน
ข้อ 8 ค่าธรรมเนียมการศึกษา |
ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต้องชำระให้แก่มหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามรายละเอียดที่มหาวิทยาลัย กำหนด
กลับด้านบน
9.1 มหาวิทยาลัยอำนวยการศึกษาด้วยวิธีประสานงานทางวิชาการระหว่างคณะและภาควิชาต่าง ๆ คณะ หรือภาควิชาใด มีหน้าที่เกี่ยวกับวิชาการด้านใด มหาวิทยาลัยจะส่งเสริมให้อำนวยการศึกษาในวิชาการ ด้านนั้น แก่นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัย
9.2 มหาวิทยาลัยจัดการศึกษาโดยใช้ระบบทวิภาคเป็นหลัก โดยปีการศึกษาหนึ่ง ๆ มี 2 ภาคการศึกษา
ปกติ ซึ่งเป็นภาคการศึกษาบังคับ คือภาคการศึกษาที่หนึ่ง และภาคการศึกษาที่สอง โดยแต่ละภาค
การศึกษา ปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และมหาวิทยาลัยอาจเปิดภาคฤดูร้อน
เพิ่มอีกได้ ซึ่งเป็นภาค การศึกษาที่ไม่บังคับ มีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 7 สัปดาห์ แต่ให้มีจำนวน
ชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชา เท่ากับภาคการศึกษาปกติ
มหาวิทยาลัยอาจจัดการศึกษาระบบอื่นได้
เช่น ระบบไตรภาค หรือระบบจตุรภาค โดยให้มี
จำนวน ชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชาเท่ากับภาคการศึกษา
ปกติของระบบทวิภาค
9.3 การกำหนดปริมาณการศึกษาของแต่ละรายวิชาให้กำหนดเป็นหน่วยกิตตามลักษณะการจัดการเรียน การสอน ดังนี้
9.3.1 ภาคทฤษฎี ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งภาคการศึกษา ปกติ หรือจำนวนชั่วโมงรวมไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง ให้นับเป็นหนึ่งหน่วยกิต
9.3.2 ภาคปฏิบัติ ใช้เวลาฝึกหรือทดลอง 2 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ หรือ จำนวนชั่วโมงรวม ระหว่าง 30 - 45 ชั่วโมง ให้นับเป็นหนึ่งหน่วยกิต
9.3.3 การฝึกงาน การฝึกภาคสนามหรือการฝึกอื่น ๆ ใช้เวลา 3 - 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตลอดหนึ่งภาค การศึกษาปกติ หรือจำนวนชั่วโมงรวมระหว่าง 45 - 90 ชั่วโมง หรือเทียบเท่า ให้นับเป็นหนึ่งหน่วยกิต
9.3.4 การศึกษาด้วยตนเอง เป็นการศึกษาที่นักศึกษาต้องศึกษาหรือวิเคราะห์ด้วยตนเองเป็นหลัก โดยมีอาจารย์ผู้สอนให้คำปรึกษา เช่น รายวิชาโครงงานนักศึกษา ปัญหาพิเศษ ใช้เวลา 2 3 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ตลอดหนึ่งภาคการศึกษาปกติ หรือเทียบเท่าทั้งในห้องปฏิบัติการ และนอกห้องเรียน ให้นับเป็น หนึ่งหน่วยกิต
9.3.5 การศึกษาบางรายวิชาที่มีลักษณะเฉพาะ มหาวิทยาลัยอาจกำหนดหน่วยกิตโดยใช้หลักเกณฑ์อื่น ได้ตามความเหมาะสม
9.4 คณะอาจกำหนดเงื่อนไขการลงทะเบียนเรียนบางรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรายวิชานั้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทะเบียนเรียนที่ผิดเงื่อนไข ให้ถือเป็นโมฆะในรายวิชานั้น
กลับด้านบน
10.1 กำหนดวัน เวลา สถานที่ และวิธีการลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา ให้เป็นไปตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนด
10.2 นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียน เมื่อพ้นกำหนดสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือ ภาคฤดูร้อน จะหมดสิทธิ์ในการลงทะเบียน เรียนสำหรับภาคการศึกษานั้น
10.3 ในภาคการศึกษาปกติใด หากนักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียน ต้องยื่น คำร้องขอลาพักการศึกษา ภายใน 30 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษานั้น หากไม่ปฏิบัติดังกล่าว มหาวิทยาลัยจะถอนชื่อนักศึกษาผู้นั้น ออกจากทะเบียนนักศึกษา
10.4 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา มิฉะนั้น จะถือว่าการลงทะเบียนเรียนดังกล่าวเป็นโมฆะ
10.5 ในภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต ยกเว้นนักศึกษาในภาวะรอพินิจและนักศึกษาในภาวะวิกฤติ ตามนัยแห่งข้อ 12 ของระเบียบนี้
ต้องลงทะเบียนเรียนไม่เกิน 16 หน่วยกิต และสำหรับภาคฤดูร้อนนักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต ยกเว้น นักศึกษาในภาวะ รอพินิจ และนักศึกษาในภาวะวิกฤติ ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
10.6 การลงทะเบียนเรียนโดยมีจำนวนหน่วยกิตมากกว่า หรือน้อยกว่าที่ กำหนดไว้ในข้อ 10.5 ต้องขออนุมัติคณบดี โดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา ยกเว้นภาคการศึกษาสุดท้ายที่นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตร และจำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนโดยมีจำนวนหน่วยกิตรวมกันไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามข้อ 10.5 มิฉะนั้น จะถือว่าการลงทะเบียนเรียนดังกล่าวเป็นโมฆะ
10.7 ในกรณีที่มีเหตุอันควร มหาวิทยาลัยอาจประกาศงดการสอนรายวิชาใดรายวิชาหนึ่ง หรือจำกัด จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาใดก็ได้
10.8 การลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ต้องกระทำภายในสัปดาห์แรก ของแต่ละภาคการศึกษา
10.9 การถอนการลงทะเบียนเรียนรายวิชาใด ให้มีผลดังนี้
10.9.1 ถ้าถอนภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษาปกติ หรือภายในสัปดาห์แรกของภาค ฤดูร้อนรายวิชานั้นจะไม่ปรากฏในใบแสดงผลการศึกษา
10.9.2 ถ้าถอนเมื่อพ้นกำหนด 2 สัปดาห์แรก แต่ยังอยู่ภายใน 12 สัปดาห์ หรือเมื่อพ้นกำหนด สัปดาห์แรกแต่ยังอยู่ภายใน 5 สัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน จะต้องได้ รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และผ่านอาจารย์ผู้สอน และรายวิชานั้นจะปรากฏในใบแสดงผลการศึกษา โดยจะได้สัญลักษณ์ W
10.9.3 เมื่อพ้นกำหนดการถอนรายวิชาโดยได้สัญลักษณ์ W ตามข้อ 10.9.2 แล้ว นักศึกษา จะถอน การลงทะเบียนเฉพาะรายวิชาไม่ได้ ยกเว้น กรณีที่มีความจำเป็น 10.10 การลงทะเบียนเรียน รายวิชาเพิ่ม จนมีจำนวนหน่วยกิตสูงกว่า หรือการถอนการลงทะเบียนรายวิชา จนเหลือจำนวนหน่วยกิต ต่ำกว่าที่ระบุไว้ในข้อ 10.5 จะทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับการอนุมัติจากคณบดี มิฉะนั้น จะถือว่าการลงทะเบียน เรียน ดังกล่าวเป็นโมฆะ
กลับด้านบน
ข้อ 11 การวัดและประเมินผล |
11.1 มหาวิทยาลัยดำเนินการวัดและประเมินผลแต่ละรายวิชาที่นักศึกษาได้ลงทะเบียนเรียน
ในทุกภาคการศึกษา การวัดและประเมินผลเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอน หรือ
ผู้ที่คณะเจ้าของ รายวิชาจะกำหนด ซึ่งอาจกระทำโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกต พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม การสอบหรือวิธีอื่น ตามที่คณะเจ้าของรายวิชาจะกำหนด
ในแต่ละรายวิชา ซึ่งการสอบอาจมีได้หลายครั้งและการสอบไล่ หมายถึง การสอบครั้งสุดท้ายของรายวิชานั้น
11.2 ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า ร้อยละแปดสิบของเวลา ศึกษาทั้งหมด หรือได้ทำงานในรายวิชานั้นจนเป็นที่เพียงพอตามที่อาจารย์ ผู้สอนกำหนด จึงจะมีสิทธิ์ ได้รับการวัดและประเมินผล เว้นแต่จะได้รับการอนุมัติเป็นกรณีพิเศษ จากคณบดี เมื่อคณบดีเห็นว่า เวลาศึกษาที่ไม่ครบนั้น เนื่องมาจากเหตุอันจะโทษนักศึกษาผู้นั้นมิได้
11.3 การวัดและประเมินผลในแต่ละรายวิชา ให้วัดและประเมินผลเป็นระดับคะแนนหรือสัญลักษณ์
11.3.1 การวัดและประเมินผลเป็นระดับคะแนน มี 8 ระดับ
มีความหมาย ดังนี้
ระดับคะแนน |
ความหมาย |
ค่าระดับคะแนน ( ต่อหนึ่งหน่วยกิต ) |
A |
ดีเยี่ยม (Excellent) |
4.0 |
|
ดีมาก (Very Good) |
3.5 |
B |
ดี (Good) |
3.0 |
|
พอใช้ (Fairly Good) |
2.5 |
C |
ปานกลาง (Fair) |
2.0 |
|
อ่อน (Poor) |
1.5 |
D |
อ่อนมาก (Very Poor) |
1.0 |
|
ตก (Fail) |
0.0 |
11.3.2 การวัดและประเมินผลเป็นสัญลักษณ์ มีความหมาย ดังนี้
G (Distinction) หมายความว่า ผลการศึกษาอยู่ในขั้นดี
P (Pass) หมายความว่า ผลการศึกษาอยู่ในขั้นพอใช้
F (Fail) หมายความว่า ผลการศึกษาอยู่ในขั้นตก ใช้สำหรับรายวิชา ที่ไม่มีจำนวนหน่วยกิต และรายวิชาที่มีจำนวนหน่วยกิตที่หลักสูตรกำหนดให้มีการวัด และประเมินผล เป็นสัญลักษณ์ G P F เช่น รายวิชาสหกิจศึกษา
S (Satisfactory) หมายความว่า ผลการศึกษาเป็นที่พอใจ ใช้สำหรับรายวิชา ที่ไม่นับหน่วยกิต เป็นหน่วยกิตสะสม
U (Unsatisfactory) หมายความว่า ผลการศึกษาไม่เป็นที่พอใจใช้สำหรับ รายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต เป็นหน่วยกิตสะสม
11.3.3 สัญลักษณ์อื่น ๆ มีความหมายดังนี้
I (Incomplete) หมายความว่า การวัดและประเมินผลยังไม่สมบูรณ์ ใช้เมื่อ อาจารย์ผู้สอน โดยความเห็นชอบของหัวหน้าภาควิชาที่รับผิดชอบรายวิชานั้น เห็นสมควรให้รอการวัด และประเมินผลไว้ก่อน เนื่องจากนักศึกษายังปฏิบัติงานซึ่งเป็นส่วนประกอบการศึกษารายวิชานั้น ยังไม่สมบูรณ์หรือใช้เมื่อนักศึกษาได้รับการอนุมัติให้ได้สัญลักษณ์ I จากคณะกรรมการประจำคณะ ตามความใน ข้อ 16.1.2 แห่งระเบียบนี้ เมื่อได้สัญลักษณ์ I ในรายวิชาใด นักศึกษาต้องติดต่อ อาจารย์ผู้สอนเพื่อดำเนินการให้มีการวัดและประเมินผลภายใน 1 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษาปกติถัดไป หรือ 1 สัปดาห์แรกของภาคฤดูร้อน หากว่านักศึกษาผู้นั้นลงทะเบียนเรียนในภาคฤดูร้อนด้วย เมื่อพ้นกำหนด ดังกล่าว ยังไม่สามารถวัดและประเมินผลได้ สัญลักษณ์ I จะเปลี่ยนเป็นระดับคะแนน E หรือสัญลักษณ์ F หรือ U หรือ W หรือ R แล้วแต่กรณีทันที
W (Withdrawn) หมายความว่า ถอน หรือยกเลิกการลงทะเบียนเรียน ใช้เมื่อ นักศึกษาได้รับการอนุมัติให้ถอนหรือยกเลิกการลงทะเบียนเรียนวิชานั้น ตามความในข้อ 10.9.2 หรือ ข้อ 16.1.2 แห่งระเบียบนี้ หรือเมื่อคณะกรรมการประจำคณะอนุมัติให้นักศึกษาที่ได้สัญลักษณ์ I อยู่ ลาพัก การศึกษาในภาคการศึกษาปกติถัดไป
R (Deferred) หมายความว่า เลื่อนกำหนดการวัดและประเมินผลไปเป็นภาค การศึกษาปกติถัดไป ใช้สำหรับรายวิชาที่นักศึกษาได้สัญลักษณ์ I อยู่ และมิใช่รายวิชาภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนมีความเห็นว่าไม่สามารถวัด และประเมินผลได้ก่อนสิ้น 1 สัปดาห์แรก ของภาคการศึกษาปกติถัดไป โดยมีสาเหตุอันมิใช่ความผิดของนักศึกษา การให้สัญลักษณ์ R ต้องได้รับ การอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะของคณะที่รับผิดชอบรายวิชานั้น และนักศึกษาที่ได้สัญลักษณ์ R ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้นใหม่ในภาคการศึกษาปกติถัดไป จึงจะมีสิทธิ์ได้รับการวัดและประเมินผล หากนักศึกษาไม่ลงทะเบียนเรียนภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษาปกติ สัญลักษณ์ R จะเปลี่ยนเป็นระดับคะแนน E ทันที
11.4 นักศึกษาที่ได้ระดับคะแนน E หรือระดับคะแนนอื่นที่หลักสูตร กำหนด หรือสัญลักษณ์ F ในรายวิชาใด ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้นซ้ำ เว้นแต่รายวิชาดังกล่าวเป็นรายวิชาในหมวด
วิชาเลือกตามหลักสูตร
11.5 นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียนซ้ำรายวิชาที่ได้ระดับคะแนนตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป หรือได้สัญลักษณ์ G หรือ P หรือ S มิได้ เว้นแต่จะเป็นรายวิชาที่มีการกำหนดไว้ในหลักสูตรเป็นอย่างอื่น การลงทะเบียนเรียน รายวิชาใดที่ผิดเงื่อนไขนี้ถือเป็นโมฆะ
11.6 การลงทะเบียนเรียนโดยไม่นับหน่วยกิตเป็นหน่วยกิตสะสม
11.6.1 นักศึกษาอาจลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มิใช่วิชาบังคับของ หลักสูตรโดยไม่นับหน่วยกิต เป็นหน่วยกิตสะสมได้ การวัดและประเมินผลรายวิชานั้น ให้วัดและ ประเมินผลเป็นสัญลักษณ์ S หรือ U
11.6.2 การนับจำนวนหน่วยกิตสูงสุดที่นักศึกษามีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนได้ในแต่ละภาคการศึกษา ตามความในข้อ 10.5 ให้นับรวมจำนวนหน่วยกิตของรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน โดยไม่นับ หน่วยกิตเป็นหน่วยกิตสะสมเข้าด้วย แต่จะไม่นำมานับรวมในการคิดจำนวนหน่วยกิตต่ำสุดที่นักศึกษา ต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปกติ
11.6.3 นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาใด โดยไม่นับหน่วยกิตเป็นหน่วยกิตสะสม ที่ได้สัญลักษณ์ S หรือ U แล้ว ภายหลังจะลงทะเบียนเรียนซ้ำ โดยให้มีการวัดและประเมินผล
เป็นระดับคะแนนอีกมิได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีการย้ายคณะหรือประเภทวิชา หรือย้ายสาขาวิชา และรายวิชานั้นเป็นวิชาบังคับ ในหลักสูตรใหม่
11.7 การนับจำนวนหน่วยกิตสะสม ให้นับรวมเฉพาะหน่วยกิต ของราย วิชาตามหลักสูตรที่ได้ระดับคะแนน ไม่ต่ำกว่า1.00 หรือได้สัญลักษณ์ G หรือ P แต่บางหลักสูตรอาจกำหนดให้ได้ระดับคะแนนสูงกว่า 1.00 จึงจะนับหน่วยกิตของรายวิชานั้นเป็นหน่วยกิตสะสมก็ได้
11.8 ในกรณีที่นักศึกษาได้ศึกษารายวิชาใดมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้นับ หน่วยกิตของรายวิชานั้น เป็นหน่วยกิต สะสมตามหลักสูตรได้เพียงครั้งเดียว โดยพิจารณาจากการ วัดและประเมินผลครั้งหลังสุด
11.9 มหาวิทยาลัยจะประเมินผลการศึกษาของนักศึกษาทุกคนที่ได้ลงทะเบียนเรียน โดยคำนวณผล ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
11.9.1 หน่วยจุดของรายวิชาหนึ่ง ๆ คือ ผลคูณระหว่างจำนวน หน่วยกิตกับค่าระดับคะแนนที่ได้ จากการ ประเมินผลรายวิชานั้น
11.9.2 แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาค คือ ค่าผลรวมของ หน่วยจุดของทุกรายวิชาที่ได้ศึกษา ในภาคการศึกษานั้น หารด้วยหน่วยกิตรวมของรายวิชาดังกล่าว เฉพาะรายวิชาที่มีการประเมินผล เป็นระดับคะแนน
11.9.3 แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม คือ ค่าผลรวมของหน่วยจุด ของทุกรายวิชาที่ได้ศึกษามา ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย หารด้วยจำนวนหน่วยกิตรวมของ รายวิชาดังกล่าว เฉพาะรายวิชาที่มีการประเมินผลเป็นระดับคะแนน และในกรณีที่มีการเรียนรายวิชาที่ได้ระดับคะแนน D+ D หรือ E มากกว่าหนึ่งครั้ง ให้นำผลการศึกษาและหน่วยกิตครั้งหลังสุดมาคำนวณแต้มระดับคะแนน เฉลี่ยสะสม
11.9.4 แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาค และแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ให้คำนวณเป็นค่าที่มี เลขทศนิยม 2 ตำแหน่ง โดยไม่มีการปัดเศษจากทศนิยมตำแหน่งที่ 3
11.10 การทุจริตในการวัดผล เมื่อมีการตรวจพบว่านักศึกษาทุจริตในการวัดผล เช่น การสอบราย วิชาใด ให้ผู้ที่รับผิดชอบ การวัดผลครั้งนั้นหรือผู้ควบคุมการสอบ รายงานการทุจริต พร้อมส่ง หลักฐานการทุจริต ไปยังคณะ ที่นักศึกษาผู้นั้นสังกัดอยู่ ตลอดจนแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชานั้น ทราบ และให้คณะกรรมการ ดำเนินงานวินัยนักศึกษาที่นักศึกษาผู้นั้นสังกัด พิจารณาโทษแล้วเสนอ ต่อมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการ ต่อไป โดยให้นักศึกษาที่ทุจริตในการวัดผลดังกล่าวได้ระดับคะแนน E หรือสัญลักษณ์ F หรือ U ในรายวิชานั้น พร้อมทั้งภาคทัณฑ์ไว้ตลอดการมีสภาพเป็นนักศึกษา และ ถ้าหากมีความผิดร้ายแรง ก็อาจพิจารณาโทษทางวินัยประการหนึ่งประการใด หรือหลายประการได้ อีก ดังนี้
11.10.1 ให้พักการศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งภาคการศึกษา
11.10.2 ให้ได้ระดับคะแนน E หรือสัญลักษณ์ F หรือ U ทุกรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษา นั้น
11.10.3 ให้ออก
11.10.4 ไล่ออก
11.11 ระเบียบและข้อพึงปฏิบัติอื่น ๆ เกี่ยวกับการสอบที่มิได้ระบุไว้ใน ระเบียบนี้ ให้คณะเป็นผู้พิจารณา ประกาศเพิ่มเติมได้ ตามความเหมาะสมกับสภาพและลักษณะการศึกษาของแต่ละคณะ
กลับด้านบน
มหาวิทยาลัยจะจำแนกสถานภาพนักศึกษาตามผลการศึกษาในทุกภาคการ ศึกษา ทั้งนี้ ไม่นับภาค การศึกษาที่ได้ลาพักหรือถูกให้พัก สถานภาพนักศึกษามี 3 ประเภท คือ นักศึกษาปกติ นักศึกษาในภาวะ วิกฤติิ และนักศึกษาในภาวะรอพินิจ
12.1 นักศึกษาปกติ คือ นักศึกษาที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่ 2.00 ขึ้นไป
12.2 นักศึกษาในภาวะวิกฤติ คือนักศึกษาที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 1.00 - 1.99 ในภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
12.3 นักศึกษาในภาวะรอพินิจ คือ นักศึกษาที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ย สะสมต่ำกว่า 2.00 โดยให้จำแนกนักศึกษาในภาวะรอพินิจ ดังนี้
12.3.1 นักศึกษาที่ได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยครบ 2 ภาคการศึกษาิแล้ว และได้แต้มระดับคะแนน
เฉลี่ยสะสมในภาคการศึกษาที่สอง ตั้งแต่ 1.25 แต่ไม่ถึง 2.00 หรือนักศึกษาปกติที่ได้แต้มระดับคะแนน เฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 1.50 แต่ไม่ถึง 2.00 ในภาคการศึกษาปกติถัดไป จะได้รับภาวะรอพินิจครั้งที่ 1
12.3.2 นักศึกษาที่อยู่ในภาวะรอพินิจครั้งที่ 1 ที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 1.70 แต่ไม่ถึง 2.00 ในภาคการศึกษาปกติถัดไป จะได้รับภาวะรอพินิจครั้งที่ 2
12.3.3 นักศึกษาที่อยู่ในภาวะรอพินิจครั้งที่ 2 ที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 1.90 แต่ไม่ถึง 2.00 ในภาคการศึกษาปกติถัดไป จะได้รับภาวะรอพินิจครั้งที่ 3
กลับด้านบน
ข้อ 13 การย้ายคณะหรือประเภทวิชา หรือสาขาวิชา |
13.1 การย้ายคณะหรือประเภทวิชา หรือสาขาวิชา ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครอง
และ อาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาอนุมัติ ให้ยึดหลักเกณฑ์ ดังนี้
13.1.1 นักศึกษาที่ขอย้ายคณะหรือประเภทวิชา หรือสาขาวิชา ต้องได้ศึกษาอยู่ในคณะ หรือประเภทวิชา หรือสาขาวิชาเดิม ไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้ ไม่นับรวมภาคการศึกษาที่ลาพัก หรือถูกให้พัก
13.1.2 การกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์การให้นักศึกษาย้ายเข้าศึกษา ให้อยู่ในดุลยพินิจของ
คณะกรรมการ ประจำคณะที่นักศึกษาขอย้ายเข้า
13.2 นักศึกษาที่ได้รับการอนุมัติให้ย้ายคณะหรือประเภทวิชา หรือสาขาวิชาอาจมีสิทธิ์ได้รับ
การเทียบโอน หรือรับโอนบางรายวิชา รายวิชาที่ได้รับการเทียบโอนหรือรับโอนให้ได้สัญลักษณ์
หรือ ระดับคะแนนเดิม ให้นับหน่วยกิตรายวิชาดังกล่าวเป็นหน่วยกิตสะสม และ่นำมาคำนวณ
แต้มระดับ คะแนนเฉลี่ยสะสม โดยนักศึกษาต้องดำเนินการขอเทียบโอนให้แล้วเสร็จภาย
ในภาคการศึกษาแรก ที่ได้รับอนุมัติให้ย้ายคณะหรือประเภทวิชาหรือสาขาวิชา
13.3 การเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชาที่เป็นรายวิชาเดียวกันกับรายวิชาในหลักสูตร หรือสาขา
วิชาใหม่รายวิชานั้นจะต้องมีระดับคะแนนตั้งแต่ D ขึ้นไป ส่วนการเทียบโอนรายวิชาที่มีเนื้อหา
เทียบเท่ากันกับรายวิชาในหลักสูตร หรือสาขาวิชาใหม่ ให้มีีหลักเกณฑ์ตามความในข้อ 14.6
กลับด้านบน
ข้อ 14 การเทียบโอนและการรับโอนรายวิชา |
14.1 ผู้ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยได้อีก อาจมีสิทธิ์ได้รับการเทียบโอน หรือรับโอนบางรายวิชา โดยนักศึกษาต้องดำเนินการขอเทียบโอนให้แล้วเสร็จ ภายในภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
14.2 นักศึกษาที่รับโอนมาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณาเทียบโอนบางรายวิชา โดยนักศึกษาต้องดำเนินการขอเทียบโอนให้แล้วเสร็จภายในภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
14.3 การเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและต่างประเทศต้องได้รับ การอนุมัติจาก คณะกรรมการประจำคณะก่อน
14.4 รายวิชาที่ได้รับการเทียบโอนหรือรับโอน ให้ได้สัญลักษณ์หรือ ระดับคะแนนเดิม และให้นับหน่วยกิตรายวิชา ดังกล่าวเป็นหน่วยกิตสะสม และ่นำมาคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
14.5 นักศึกษาไม่มีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์หรือระดับ คะแนนเดิมอีก เว้นแต่เมื่อ ผลการศึกษา รายวิชาที่สัมพันธ์กับรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์ หรือระดับคะแนนเดิม ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่คณะหรือภาควิชากำหนด ให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์หรือระดับคะแนนเดิมนั้นซ้ำอีกได้ และให้นับหน่วยกิตรายวิชาดังกล่าว เป็นหน่วยกิตสะสมได้เพียงครั้งเดียว
14.6 การเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชาต้องได้รับการอนุมัติจากภาควิชาที่ เกี่ยวข้อง โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
14.6.1 รายวิชาเดิมที่นำมาเทียบโอนหรือรับโอนได้ จะต้องมีเนื้อหาวิชาอยู่ในระดับเดียวกัน และมีปริมาณเท่ากันหรือไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาในหลักสูตรใหม่
14.6.2 รายวิชาที่จะนำมาพิจารณาเทียบโอนหรือรับโอน ต้องมีผลการศึกษาตามที่ภาควิชากำหนด โดยต้องได้ระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่าขึ้นไป 14.6.3 ให้มีการเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชาได้ไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรใหม่
14.7 การเทียบโอนความรู้และการให้หน่วยกิตจากการศึกษานอกระบบ และหรือการศึกษาตามอัธยาศัยเข้าสู่การศึกษาในระบบ
14.7.1 การเทียบความรู้ จะเทียบเป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาตามหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน
14.7.2 การเทียบประสบการณ์จากการทำงาน จะคำนึงถึงความรู้ที่ได้จากประสบการณ์เป็นหลัก
14.7.3 วิธีการประเมินเพื่อการเทียบความรู้ในแต่ละรายวิชาหรือกลุ่ม รายวิชา และเกณฑ์การตัดสิน ให้อยู่ในดุลยพินิจของภาควิชาที่นักศึกษาขอเทียบโอนความรู้
14.7.4 ผลการประเมินต้องเทียบได้ไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า จึงจะให้จำนวนหน่วยกิต ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชานั้น แต่ไม่ให้เป็นระดับคะแนน และไม่นำมาคำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
14.7.5 การบันทึกผลการเรียน ให้บันทึกตามวิธีการประเมิน ดังนี้
14.7.5.1 ถ้าได้หน่วยกิตจากการทดสอบมาตรฐานให้บันทึก CS (credits from standardized test)
14.7.5.2 ถ้าได้หน่วยกิตจากการทดสอบที่ไม่ใช่การทดสอบ มาตรฐาน ให้บันทึก CE (credits from exam)
14.7.5.3 ถ้าได้หน่วยกิตจากการประเมินการศึกษา หรือการ อบรมที่จัดโดยหน่วยงานอื่น ให้บันทึก CT (credits from training)
14.7.5.4 ถ้าได้หน่วยกิตจากการเสนอแฟ้มสะสมผลงาน ให้บันทึก CP (credits from portfolio)
14.7.6 ให้เทียบรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาจากการศึกษานอกระบบและหรือการศึกษา ตามอัธยาศัย ได้ไม่เกินสามในสี่ ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรและต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัยอย่างน้อย หนึ่งปีการศึกษา
กลับด้านบน
ข้อ 15 การรับโอนนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น |
15.1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจรับโอนนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์รับรอง
15.2 การรับโอนนักศึกษา ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะที่นักศึกษาขอโอน เข้าศึกษา และอธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
15.2.1 นักศึกษาต้องศึกษาอยู่ในสถาบันเดิมมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยไม่นับ ภาคการศึกษาที่ลาพักหรือถูกให้พัก
15.2.2 มีรายวิชาที่สามารถนำมาเทียบโอนตามความในข้อ 14.6 คิดเป็นหน่วยกิตตามหลักสูตร ใหม่ได้ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และต้องมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยของรายวิชาที่เทียบโอนไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า
15.3 การสมัครขอโอนย้าย ให้ยื่นคำร้องถึงมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดวันลงทะเบียนเรียนของภาคการศึกษา ที่จะโอนเข้าศึกษา พร้อมทั้งติดต่อสถาบันเดิมให้จัดส่งใบแสดงผลการศึกษา และคำอธิบายรายวิชาของหลักสูตรเดิม มายังมหาวิทยาลัยโดยตรงด้วย
กลับด้านบน
16.1 การลาป่วยหรือลากิจ
16.1.1 การลาไม่เกิน 7 วัน ในระหว่างเปิดภาคการศึกษา ต้องได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ ผู้สอน และแจ้งอาจารย์ที่ปรึกษาทราบ ถ้าเกิน 7 วัน ต้องได้รับการอนุมัติจากคณบดี โดยผ่านอาจารย์ ที่ปรึกษา สำหรับงานหรือการสอบที่นักศึกษาได้ขาดไปในช่วงเวลานั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งอาจจะอนุญาตให้ปฏิบัติงานหรือสอบทดแทน หรือยกเว้นได้
16.1.2 ในกรณีที่ป่วยหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถเข้าสอบไล่ได้ นักศึกษาต้องขอ ผ่อนผันการสอบไล่ต่อคณะภายในวันถัดไป หลังจากที่มีการสอบไล่รายวิชานั้นเว้นแต่จะมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการประจำคณะเป็นผู้พิจารณาการขอผ่อนผันดังกล่าว โดยอาจอนุมัติให้ได้สัญลักษณ์ I หรือให้ยกเลิกการลงทะเบียนเรียนรายวิชานั้นเป็นกรณีพิเศษ โดยให้ได้สัญลักษณ์ W หรือไม่อนุมัติการขอผ่อนผัน โดยให้ถือว่าขาดสอบก็ได้
16.2 การลาพักการศึกษา
16.2.1 การลาพักการศึกษาเป็นการลาพักทั้งภาคการศึกษา และถ้าได้ลงทะเบียนไปแล้ว เป็นการยกเลิกการลงทะเบียนเรียน โดยรายวิชาที่ได้ลงทะเบียนเรียนทั้งหมดในภาคการศึกษานั้น จะไม่ปรากฏในใบแสดงผลการศึกษา
16.2.2 การขอลาพักการศึกษา ให้แสดงเหตุผลความจำเป็นพร้อมกับมีหนังสือรับรองของผู้ปกครอง ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา การลาพักการศึกษาต้องได้รับการอนุมัติ จากคณบดี
16.2.3 การลาพักการศึกษา จะลาพักเกิน 2 ภาคการศึกษาปกติติดต่อกันไม่ได้
16.2.4 ในสองภาคการศึกษาปกติแรกที่ได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนักศึกษาจะลาพักการศึกษา ไม่ได้ เว้นแต่กรณีที่ป่วย หรือถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับราชการทหารกองประจำการ และหรือได้รับทุน ต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็นประโยชน์กับนักศึกษา
16.2.5 การลาพักการศึกษา นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ตามความในข้อ 16.2.3 และข้อ 16.2.4 ต้องได้รับการอนุมัติจากอธิการบดี เป็นกรณีพิเศษ โดยการเสนอของคณบดี
16.2.6 นักศึกษาจะต้องชำระค่ารักษาสถานภาพนักศึกษาทุกภาคการศึกษาที่ได้รับการอนุมัติ ให้ลาพัก ตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด ยกเว้นภาคการศึกษาที่ได้ลงทะเบียนเรียนไปก่อนแล้ว
16.3 ในการลาป่วยและการลาพักการศึกษาเนื่องจากป่วย นักศึกษาต้องแสดงใบรับรองแพทย์ด้วย ทุกครั้ง
16.4 การให้พักการศึกษา ในกรณีที่คณะกรรมการแพทย์ซึ่งอธิการบดี แต่งตั้งขึ้น วินิจฉัยว่าป่วย และ คณะกรรมการประจำคณะ เห็นว่าโรคนั้นเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น คณะกรรมการประจำคณะอาจเสนอให้นักศึกษา ผู้นั้นพักการศึกษาได้ 16.5 การลาออก นักศึกษายื่นใบลาออก พร้อมหนังสือรับรองของผู้ปกครองผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขออนุมัติต่ออธิการบดี ผู้ที่จะได้รับการอนุมัติ ให้ลาออกได้ต้องไม่มีหนี้สินกับมหาวิทยาลัย
กลับด้านบน
ข้อ 17 การเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาและการอนุมัติให้ปริญญา |
17.1 นักศึกษาที่จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
17.1.1 ได้ศึกษาและผ่านการวัดและประเมินผลรายวิชาต่าง ๆ ครบถ้วนตามหลักสูตรและ ข้อกำหนดของสาขาวิชาที่จะรับปริญญา โดยไม่มีรายวิชาใดที่ได้ สัญลักษณ์ I หรือ R ค้างอยู่ ทั้งนี้ นับรวมถึงรายวิชาที่ได้รับการเทียบโอนและที่รับโอนด้วย
17.1.2 ยังมีสถานภาพเป็นนักศึกษาอยู่และได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 หากเป็นนักศึกษาที่โอนย้ายมาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่น จะต้องศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อย่างน้อยหนึ่งปีการศึกษา
17.1.3 ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
17.1.3.1 หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการ
ลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน 14 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
17.1.3.2 หลักสูตร 5 ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 8 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา และไม่ก่อน 17 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียน
ไม่่เต็มเวลา
17.1.3.3 หลักสูตรไม่น้อยกว่า 6 ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 10 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนเต้มเวลา และไม่ก่อน 20 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา
ทั้งนี้ ให้ยกเว้นนักศึกษาที่ได้รับการเทียบโอนหรือรับโอนรายวิชา
17.1.4 ไม่อยู่ในระหว่างการรอรับโทษทางวินัยที่ระบุให้งดการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญา ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
17.1.5 ได้ปฏิบัติตามระเบียบต่าง ๆ ครบถ้วนและไม่มีหนี้สินใด ๆ ต่อมหาวิทยาลัย
17.1.6 ได้ดำเนินการเพื่อขอรับปริญญาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
17.2 นักศึกษาที่จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
17.2.1 มีคุณสมบัติตามความในข้อ 17.1
17.2.2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
17.2.3 ไม่เคยได้ระดับคะแนนต่ำกว่า 2.00 หรือสัญลักษณ์ F หรือ U ในรายวิชาใด ๆ
17.2.4 ใช้เวลาศึกษาไม่เกินจำนวนปีการศึกษาต่อเนื่องกัน ตามแผนการศึกษา
ของสาขาวิชาที่จะได้รับปริญญา
17.2.5 ไม่เคยเป็นผู้มีประวัติได้รับการลงโทษ เนื่องจากผิดวินัย อย่างร้ายแรง
17.3 นักศึกษาที่จะได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง
ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ดังนี้
17.3.1 มีคุณสมบัติตามความในข้อ 17.1
17.3.2 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป แต่เป็นผู้ไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
17.3.3 ไม่เคยได้ระดับคะแนนต่ำกว่า 2.00 ในรายวิชาเอกใด ๆ ของหลักสูตรสาขาวิชานั้น
17.3.4 ไม่เคยได้ระดับคะแนน E หรือสัญลักษณ์ F หรือ U ในรายวิชาใด ๆ
17.3.5 มีคุณสมบัติตามความในข้อ 17.2.4
17.3.6 มีคุณสมบัติตามความในข้อ 17.2.5
17.4 มหาวิทยาลัยจะเสนอรายชื่อนักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อเพื่อรับปริญญา หรือปริญญา เกียรตินิยมในสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อขออนุมัติปริญญาต่อสภามหาวิทยาลัย
17.5 ในกรณีที่นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามความในข้อ 17.1 แต่ประสงค์จะขอเลื่อน
การเสนอ ชื่อเพื่อรับปริญญาออกไป โดยต้องการลงทะเบียนเรียนบางรายวิชาอีก อธิการบดีโดยการเสนอของคณะ กรรมการประจำคณะ อาจอนุมัติให้นักศึกษา ลงทะเบียนเรียนบางรายวิชาโดยไม่นับ
เป็นหน่วยกิตสะสมได้
กลับด้านบน
ข้อ 18 การขอเข้าศึกษาเพื่อปริญญาที่สอง |
18.1 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือสถาบัน อุดมศึกษาอื่นที่เทียบเท่า อาจขอเข้า ศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาอื่นเป็นการเพิ่มเติมได้
18.2 การรับเข้าศึกษา ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะที่นักศึกษาขอเข้าศึกษา และอธิการบดี
18.3 การเทียบโอนและการรับโอนรายวิชา
18.3.1 รายวิชาที่นักศึกษาได้ศึกษาในสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา จะได้รับการพิจารณาเทียบโอน และรับโอน โดยรายวิชาที่ได้รับ การเทียบโอนและรับโอน ให้ได้สัญลักษณ์หรือระดับคะแนนเดิม และให้นับ หน่วยกิตรายวิชาดังกล่าวเป็นหน่วยกิตสะสม แต่ไม่นำมา คำนวณแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
18.3.2 นักศึกษาไม่มีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์หรือระดับคะแนนเดิม เว้นแต่เมื่อผลการศึกษารายวิชา ที่สัมพันธ์กับรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์หรือระดับคะแนนเดิมต่ำกว่ามาตรฐาน คณะหรือภาควิชากำหนดให้ลงทะเบียนเรียน รายวิชาที่ได้สัญลักษณ์หรือระดับคะแนนเดิมซ้ำอีกได้ และให้นับหน่วยกิตรายวิชาดังกล่าว เป็นหน่วยกิตสะสมได้เพียงครั้งเดียว
18.3.3 การเทียบโอนและการรับโอนรายวิชา ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการประจำคณะ โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ตามความในข้อ 14.6
กลับด้านบน
ข้อ 19 การศึกษาสองปริญญาพร้อมกัน |
19.1 นักศึกษาที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจขอศึกษาสองปริญญาพร้อมกันได้
19.2 รายละเอียดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
กลับด้านบน
ข้อ 20 การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา |
20.1 ตายหรือลาออก
20.2 ถูกให้ออก หรือไล่ออก เนื่องจากต้องโทษทางวินัย
20.3 ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนภายใน 30 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ โดยมิได้รับการอนุมัติให้ลาพักการศึกษา
20.4 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.00 ในภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาใน
มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ไม่นับภาคการศึกษาที่ลาพักหรือถูกให้พัก
20.5 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.25 ในภาคการศึกษาิที่สองที่เข้าศึกษา
ในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ไม่นับภาคการศึกษาที่ลาพักหรือถูกให้พัก
20.6 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.50 ยกเว้นนักศึกษาที่เริ่มเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย ในสองภาคการศึกษาแรก
20.7 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.70 ในภาคการศึกษาิ ถัดไป หลังจากได้รับภาวะ
รอพินิจครั้งที่ 1
20.8 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 1.90 ในภาคการศึกษาิ ถัดไป หลังจากได้รับภาวะ
รอพินิจครั้งที่ 2
20.9 ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00 ในภาคการศึกษาถัดไป หลังจากได้รับภาวะ
รอพินิจครั้งที่ 3
20.10 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมาแล้ว เป็นระยะเวลาเกิน 2 เท่าของจำนวน ปีการศึกษาต่อเนื่องกัน ที่ได้กำหนดไว้ในแผนกำหนดการศึกษาของสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่ สำหรับนักศึกษา ที่รับโอนให้นับเวลาที่เคยศึกษาอยู่ในสถาบันเดิมรวมเข้าด้วย
20.11 ได้รับการอนุมัติปริญญา
20.12 ได้รับการวินิจฉัยโดยคณะกรรมการแพทย์ซึ่งแต่งตั้งโดยอธิการบดี ว่าป่วย จนเป็นอุปสรรค
ต่อการศึกษา หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก คณะกรรมการประจำคณะ
กลับด้านบน
ให้อธิการบดีรักษาการตามระเบียบนี้ ในกรณีที่จะต้องมีการดำเนินการใดๆ ที่มิได้กำหนด
ไว้ใน
ระเบียบนี้ หรือกำหนดไว้ไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องผ่อนผันข้อกำหนด
ในระเบียบนี้
เป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้การดำเนินการจัดการศึกษาขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย
เป็นไปโดยเรียบร้อย ให้อธิการบดีมีอำนาจตีความ วินิจฉัยสั่งการ และปฏิบัติตามที่เห็นสมควร และให้ถือเป็นที่สุด แล้วรายงานให้สภามหาวิทยาลัยทราบ
กลับด้านบน
|